ประวัติความเป็นมา

ข้อมูลพื้นฐานตำบลบางนมโค

ประวัติความเป็นมา  
 เดิมตำบลบางนมโค ประชาชนมีอาชีพเลี้ยงโคทั้งบาง ในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหลวง ในช่วง เกิดศึกสงครามกับประเทศพม่า  พม่าได้มาตั้งค่ายอยู่ ที่บ้านสีกุก อำเภอบางบาล ได้กวาดต้อนเอาโคของ ชาวบ้านในบางนี้ไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ   จนกระทั่งโคในบางแถบนี้ร่อยหรอจนเกือบหมด ชาวบ้านเลย เรียกตำบลนี้ว่า ร้างนมโค”  อยู่ไปไม่นานมีความคิดว่าร้างนมโค”  ควรจะเปลี่ยนเป็น  บางนมโคมากกว่าจึงได้เปลี่ยนเป็นบางนมโคมาจนถึงทุกวันนี้
ตราสัญลักษณ์

เทศบาลตำบลบางนมโค ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางนมโค ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  2537  เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 และเปลี่ยนฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลบางนมโค   เมื่อวันที่  23  สิงหาคม  2550  ตามประกาศกระทรวงหมาดไทย  ลงวันที่ 26  มิถุนายน  2550  มีพื้นที่ 13.31  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  8,318.75 ไร่ ตามลักษณะภูมิศาสตร์จัดอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย ติดกับเมืองหลวงคือ กรุงเทพมหานคร  ระยะห่างประมาณ  90  กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อดังนี้


สภาพทั่วไป

 เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำน้อยไหลผ่าน  .1 -  .5  มีลำคลอง   2   สาย คือ
  1.  คลองขนมจีนไหลผ่าน ม.6 - .10     
2.  คลองมอญหรือคลองทานตะวันไหลผ่าน   .7

                   การปกครอง   องค์การบริหารส่วนตำบลบางนมโคแบ่งการปกครอง เป็น   11   หมู่บ้าน

หมู่ที่   1   บ้านล่าง
          หมู่บ้านบ้านล่าง    อยู่ในเขตหมู่ที่   1   การที่เรียกชื่อว่าบ้านล่าง   แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้อยู่เหนือวัดบางนมโค   แต่ปัจจุบันชาวบ้านกลับ  เรียกว่า  “  บ้านล่าง  ”    เนื่องจากยึดแนวพื้นที่วัดเป็นเกณฑ์   จึงมองดูว่าอยู่ล่างวัด  จึงเรียกว่า  “  บ้านล่าง  ”

หมู่ที่   2   บ้านเหนือวัด
          หมู่บ้านบ้านล่าง    อยู่ในเขตหมู่ที่  1   การที่เรียกชื่อว่าบ้านเหนือวัด   แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้อยู่ล่างวัดบางนมโค   แต่ปัจจุบันชาวบ้านกลับ  เรียกว่า  “  บ้านเหนือวัด  ”    เนื่องจากยึดแนวพื้นที่วัดเป็นเกณฑ์   จึงมองดูว่าอยู่เหนือวัด  จึงเรียกว่า  “  บ้านเหนือวัด  ”

หมู่ที่   3   บ้านหัวไผ่
          หมู่บ้านหัวไผ่   อยู่ในเขตหมู่ที่   3   ซึ่งในอดีตจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้ชราได้เล่าว่าแต่เดิมนั้น   หมู่บ้านได้มีต้นไผ่ขึ้นเรียงแถวอยู่ด้วยกัน   3   กอ   ในลักษณะขึ้นเรียงรายตามแนวด้านหลังบ้าน   เป็นรั้วและเป็นทิวแถวอย่างต่อเนื่องจากลักษณะดังกล่าวนี้ชาวบ้านทั่วไป     จึงเรียกขานหมู่บ้านนี้ว่า       “  บ้านหัวไผ่  ”    มาตราบเท่าทุกวันนี้อย่างเป็นทางการ



หมู่ที่   4   บ้านคลองมอญ
          หมู่บ้านคลองมอญ   อยู่ในเขตหมู่ที่   4   ซึ่งในอดีตจากหลักฐานและคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้านบ้านคลองมอญเดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวมอญในสมัยสงครามโลกครั้งที่  2   มาตั้งรกรากบริเวณถิ่นฐานบริเวณริมคลองนี้   จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านคลองมอญในปัจจุบัน   แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีคนมอญอาศัยอยู่แล้ว

หมู่ที่   5   บ้านกระทุ่ม
          หมู่บ้านกระทุ่ม   อยู่ในเขตหมู่ที่  5   จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่ากันว่าในอดีตในบริวเณหมู่บ้านมีต้นกระทุ่มขึ้นอยู่เขียวขจคอยู่รอบหมู่บ้านทั่วไปหมด จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านกระทุ่มจนถึงปัจจุบัน

หมู่ที่   6   บ้านสุธาโภชน์
          หมู่บ้านสุธาโภชน์   อยู่ในเขตหมู่ที่  6   เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมฝังคลองขนมจีนด้านตะวันออก    ประกอบด้วยวัดสุธาโภชน์  คอลงขนมจีน  หลวงพ่อไวทย์  เล่าว่า  ปากคลองอยู่ที่ประตูเลื่อนเก่า (ไม้ )   มีคลองแยกเข้าวัดสามกอ   ถัดเข้ามาแยกเข้าคลองโพธิ์ต่อคลองทราย   คลองขนมจีนนี้เห็นจะคู่กับคลองน้ำยา   ซึ่งอยู่ข้างวัดบรมวงศ์อิศวราราม   ตำบลสวนพริก   อำเภอพระนครศรีอยุธยา   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

หมู่   7   บ้านคลองขวาง
          หมู่บ้านคลองขวาง   อยู่ในเขตหมู่ที่  7   เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณที่มีคลองทานตะวันไหลตัดผ่านหมู่บ้าน  ระยะทางประมาณ  3  กิโลเมตร   จะไหลออกทางแม่น้ำน้อย   ทำให้หมู่บ้านอยู่ในลักษณะขวางคลองอยู่        จึงเรียกว่า    “  หมู่บ้านคลองขวาง  ”      แต่เมื่อก่อนชาวบ้านจะเรียกกันว่า 
“  คลองชวนตะวัน  ”   แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ   “   คลองทานตะวัน  ”


หมู่   8   บ้านเก่า
          หมู่บ้านเก่า   อยู่ในเขตหมู่ที่  8   พื้นที่หมู่บ้านเก่า   ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม  น้ำท่วมถึง  และมีการคมนาคมสะดวกทั้งทางน้ำและทางบก   ดังนั้น  จึงมีประชากรที่มาอาศัยอยู่นิยมปลูกบ้านหรือสร้างบ้านเรือนทรงไทยแบบสมัยเก่าเกือบทุกครัวเรือน    จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า  “  หมู่บ้านเก่า  ”   และได้เรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้
หมู่ที่   9   บ้านต้นตาล
          หมู่บ้านต้นตาล   อยู่ในเขตหมู่ที่  9   แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้มีต้นตาลอยู่เต็มไปหมด   ต่อมาต้นตาลถูกตัดโค่นทำลายไปหมด  เพื่อใช้ที่ดินเป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้าน   และปลูกสร้างบ้านเรือน   ทำให้ต้นตาลในปัจจุบันหมดไป

หมู่ที่   10   บ้านเกาะกลาง
          หมู่บ้านเกาะกลาง    อยู่ในเขตหมู่ที่  10   ที่มาของหมู่บ้านเกาะกลางเป็นชื่อบ้านเกาะกลางได้  เนื่องจาก มีลำคลองขนมจีนไหลผ่านขนานคู่ไปกับถนนสายเสนาหลวงประสิทธิ์  เดิมสภาพหมู่บ้านเป็นเกาะกลางระหว่างลำรางบ่อชะโดกับคลองขนมจีน   จึงเป็นที่มาของชื่อ  “  บ้านเกาะกลาง  ”

หมู่ที่   11   บ้านแพนพัฒนา
          หมู่บ้านแพนพัฒนา     อยู่ในเขตหมู่ที่    11   หมู่บ้านแพนพัฒนาแยกออกมาจากหมู่ที่   9    บ้านต้นตาล   เนื่องจากจำนวนประชากรที่เข้ามาทำงานที่โรงงานรองเท้าแพนมีจำนวนมาก   จึงต้องแยกหมู่  9  ออกเป็น หมู่ที่   11   บ้านแพนพัฒนา



แผนที่ตำบลบางนมโค



ทิศเหนือ                    ตำบลบ้านแพน      อำเภอเสนา      อำเภอบางบาล
ทิศใต้                       ตำบลสามตุ่ม    อำเภอเสนา
ทิศตะวันออก               อำเภอบางไทร
ทิศตะวันตก                ตำบลสามกอ    ตำบลบ้านหลวง   อำเภอเสนา

ลักษณะภูมิประเทศ
                    เป็นที่ราบลุ่มและมีพื้นที่ น้ำท่วมทุกปีทางตอนเหนือจรด แม่น้ำน้อย ทางตอนกลางแลตอน ใต้พื้นที่ตั้งขนานไปกับคลองขนมจีน    ซึ่งแยกมาจากแม่น้ำน้อย

ลักษณะภูมิอากาศ 
          ตำบลบางนมโคในฤดูร้อนจะร้อนมากอุณหภูมิประมาณ 33 – 36 องศาเซลเซียส ฝนจะตกในช่วงเดือนพฤษภาคม ตุลาคม  และในฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 18  องศาเซลเซียส

ประชากร  (ณ วันที่  30  เมษายน  2553)

-จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  3,371  หลังคาเรือน
- มีประชากรทั้งหมด 6,786  คน แบ่งเป็นชาย 3,291คน  หญิง 3,495 คน
- ความหนาแน่นของประชากร  488 คน/ตารางกิโลเมตร                   



ตารางแสดงสถิติทะเบียนราษฎร 4 ปี (พ.ศ. 2550– 2553)

รายการ
พ.ศ.2550
ชาย
หญิง
รวม
พ.ศ.2551
ชาย
หญิง
รวม
พ.ศ.2552
ชาย
หญิง
รวม
พ.ศ.2553
ชาย
หญิง
รวม
จำนวนคนเกิด
14
12
26
57
54
111
18
11
29
23
16
39
จำนวนคนตาย
4
2
8
18
17
35
3
1
4
20
12
32
จำนวนคนย้ายเข้า
53
63
116
238
238
476
79
76
155
134
121
55
จำนวนคนย้ายออก
46
60
106
253
282
535
68
51
119
65
57
122
จำนวนประชากร
3,214
3,432
6,646
3,231
3,427
6,658
3,258
3,461
6,719
3,291
3,495
6,786
จำนวนครัวเรือน
3,384
3,438
3,446
3,371

ศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลบางนมโคนับถือศาสนาพุทธ
- วัด
- ศาลเจ้า
- ฌาปนสถาน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
3
2
3
แห่ง
แห่ง
แห่ง



วัฒนธรรม
     ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ

                   ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ กำหนดในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่ เพื่อเป็นการทำนุบำรุงรักษาไว้ ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยพุทธศาสนานิกชนร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุ  สามเณร บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลบางนมโค
จัดงานประเพณีสงกรานต์    และวันผู้สูงอายุ  กำหนดในเดือนเมษายนของทุกปี  เพื่อการสืบสานธรรมเนียมประเพณีของประชาชนชาวไทย  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไม่ให้สูญหายไป    อีกทั้งเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนและประชาชนรุ่นหลังสืบทอดประเพณีต่อไปโดยจัดให้มีการแห่ นางสงกรานต์ ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การแสดงดนตรี เป็นต้น      บริเวณสำนักงานเทศบาลตำบลบางนมโค
การจัดงานบูชาแม่พระโพสพ   กำหนดในเดือนเมษายนของทุกปี  เพื่อเป็นการระลึกถึงและบูชาพระแม่โพสพ  ในการให้ข้าวของชาวนาเจริญงอกงามเก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาล และระลึกถึงบุญคุณของข้าวที่ทำให้การจัดงานประเพณีลอยกระทง โดยถือเอาวันขึ้น 15  ค่ำ เดือน  12  ของทุกปี  เป็นวันลอยกระทง เพื่อฟื้นฟู ส่งเสริมสืบทอดและรักษาประเพณีอันดีงามของไทยการประกวดนางนพมาศและหนูน้อยนพมาศ  ประกวดกระทงสวยงาม  การแสดงดนตรี  เป็นต้น จัดขึ้น ณ บริเวณหน้า วัดมารวิชัย  หมู่ที่  9



การศึกษา

          เทศบาลตำบลบางนมโค ได้รับการถ่ายโอนด้านการศึกษาจากกระทรวงศึกษา ในปี 2549 จำนวน 1โรงเรียน และในปี 2551จำนวน 2 โรงเรียน ทำให้เทศบาลตำบลบางนมโค มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด ดังนี้

1.  โรงเรียนเทศบาลวัดบางนมโค  เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่  6   มีนักเรียน  จำนวน   113    คน
2.  โรงเรียนเทศบาลวัดสุธาโภชน์  เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่  3     มีนักเรียน  จำนวน  222 คน
3. โรงเรียนเทศบาลวัดมารวิชัย    เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่  3
มีนักเรียน จำนวน  602  คน
4.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลวัดบางนมโค   รับเด็กเตรียมอนุบาลอายุตั้งแต่  3  ขวบ ขึ้นไป  มีเด็กเล็ก  จำนวน  39  คน
5.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลวัดสุธาโภชน์  รับเด็กเตรียมอนุบาลอายุตั้งแต่  3  ขวบขึ้นไป  มีเด็กเล็ก  จำนวน  33  คน
6.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลวัดมารวิชัย  รับเด็กเตรียมอนุบาลอายุตั้งแต่  3  ขวบ ขึ้นไป   มีเด็กเล็ก  จำนวน  102  คน
7.  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  จำนวน    1    ศูนย์
 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน  จำนวน    1    องค์กร
8.ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 3  แห่ง

จำนวนบุคลากรทางการศึกษา

1.  โรงเรียนเทศบาลวัดบางนมโค
2.  โรงเรียนเทศบาลวัดมารวิชัย
3.  โรงเรียนเทศบาลวัดสุธาโภชน์
4.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบางนมโค
5.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมารวิชัย
6.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสุธาโภชน์
  ครู  จำนวน
ครู  จำนวน
ครู  จำนวน
ครูผู้ดูแลเด็ก
ครูผู้ดูแลเด็ก
ครูผู้ดูแลเด็ก
98  คน
31  คน
18  คน
จำนวน
จำนวน
จำนวน



2  คน
คน
คน


นันทนาการ/พักผ่อน
1.  สวนสาธารณะ
2.  สนามกีฬาหมู่บ้าน
3.  สวนหย่อม
4.  ลานแอโรบิค
จำนวน
 จำนวน
จำนวน
จำนวน  
1
7
1
2
แห่ง
แห่ง
แห่ง
แห่ง
การสาธารณสุข

1.  สถานีอนามัยตำบล
2.  ศูนย์บริการสุขภาพชุมชน
3.  โรงพยาบาลเอกชน
4.  ศูนย์ข้อมูลสาธารณสุขมูลฐาน
5.  ร้านขายยาแผนปัจจุบัน
6.  กลุ่มแพทย์แผนไทย
7.  อัตราการมีห้องน้ำใช้  ร้อยละ 100
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
1
1
1
1
4
1
แห่ง
แห่ง
แห่ง
แห่ง
แห่ง
แห่ง

ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานีอนามัยตำบลและศูนย์บริการสุขภาพชุมชน  5  อันดับแรก

1.  โรคระบบทางเดินหายใจ
2.  โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
3.  โรคระบบไหลเวียนโลหิต
4.  โรคในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ (รวมทันตกรรม)
5.  บาดแผลจากอุบัติเหตุต่าง ๆ


บุคลากรทางด้านสาธารณสุขของเทศบาลตำบลบางนมโค

1.  เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข   
2.  หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
3.  หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
4.  หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป
5.  นักวิชาการสาธารณสุข
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
1
1
1
1
1
คน
คน
คน
คน
คน
ตารางแสดงข้อมูลการให้การรักษาพยาบาล ของสถานีอนามัยตำบลบางนมโค

ปี
ผู้รับบริการทั้งหมด(ครั้ง)
ในเวลาราชการ
นอกเวลาราชการ
จำนวน
(ครั้ง)
%ผู้รับบริการ
ทั้งหมด
เฉลี่ยต่อ
วัน
จำนวน
(ครั้ง)
%ผู้รับบริการ
ทั้งหมด
เฉลี่ยต่อวัน
2554
8,685
7,360
84.74
20.16
1325
15.26
3.63
2555
8,750
7,450
85.14
20.41
1300
14.86
3.56
2556
10,291
8,884
86.33
24.34
1407
15.84
3.85


ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

1.  รถดับเพลิง
2.  รถกระเช้าไฟฟ้า
3.  ป้อมยามตำรวจและศูนย์บริการย่อยตำรวจสภ.อ.เสนา
4.  ศูนย์ อปพร.
5.  อาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
2
2
1
1
50
  คัน
  คัน
  แห่ง
  แห่ง
  คน

อาชีพ
           ประชากรในเขตเทศบาลตำบลบางนมโค ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและเกษตรกรรม ธุรกิจค้าขายและการบริการ โดยอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ทำนาปรัง เป็นหลัก ส่วนน้อยประกอบอาชีพเกษตรกรรมผสมผสาน  ไร่นาสวนผสมและเลี้ยงปลาบ้างเล็กน้อย



การพาณิชยกรรมและบริการ

สถานนีบริการน้ำมันและก๊าซ
ธุรกิจบ่อทราย
ธุรกิจลานตากข้าวและรับซื้อข้าวเปลือก
ธุรกิจขายวัสดุก่อสร้าง
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
 5
 2
 2
 1
แห่ง
แห่ง
แห่ง
แห่ง

สถานประกอบการด้านการบริการ


ร้านอาหาร
กลุ่มบ้านจัดสรร
โรงแรม/บังกะโล
ธุรกิจนวดแผนโบราณ/สถาบันเทิง
ธุรกิจบ้านเช่า

จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน

13
6
5
11
70
  
 แห่ง
  แห่ง
  แห่ง
  แห่ง
  แห่ง

โรงงานอุตสาหกรรม
          -  โรงงาน     จำนวน  12  แห่ง

ห้างสรรพสินค้า
          - เทสโก้ โลตัส     จำนวน  1 แห่ง

การท่องเที่ยว
     ภายในเขตเทศบาลตำบลบางนมโค  มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือ วัดบางนมโค ตั้งอยู่หมู่ที่1ติดถนนสายอยุธยา - สุพรรณบุรี ซึ่งทุกปีทางวัดจะร่วมกับเทศบาลตำบลบางนมโค  จัดงานประจำปีและมีบุคคลทั่วไปทั้งในเขตอำเภอเสนา  ต่างอำเภอและจากจังหวัดใกล้เคียงมาเที่ยวและสักการะหลวงพ่อปานวัดบางนมโคทุกปี
กลุ่มอาชีพ
           ภายในเขตเทศบาลตำบลบางนมโค  มีกลุ่มอาชีพที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นภายในชุมชน  จำนวน   9   กลุ่ม  ได้แก่

- กลุ่มร้านค้าชุมชน                                   
- กลุ่มทฤษฎีใหม่
- กลุ่มธุรกิจชุมชนครัวชุมชน
- กลุ่มพัฒนาไก่พื้นบ้าน
กลุ่มโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนเกษตรกรรายย่อย
- กลุ่มเกษตรกรนาปรัง
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
4
1
1
1
1
1
กลุ่ม   (หมู่ 1,3,9,10)
กลุ่ม   (หมู่ 9)
กลุ่ม   (หมู่ 9)
กลุ่ม   (หมู่ 9,10)
กลุ่ม   (หมู่ 9,10)
กลุ่ม   (หมู่ 9,10)


กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน/สัจจะออมทรัพย์

- กลุ่มสัจจะออมทรัพย์                                    
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้าน
- กลุ่มโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กขคจ.) หมู่ 7
  กลุ่มกองทุนหมู่บ้านละ  100,000 บาท
- กลุ่มกองทุนผู้ใช้น้ำ
- กลุ่มกองทุนประปาหมู่บ้าน
จำนวน
จำนวน

จำนวน
จำนวน
จำนวน
10
10

2
1
7
  กลุ่ม
  กลุ่ม

  กลุ่ม
  กลุ่ม
  กลุ่ม (หมู่ 1,2,3,5,6,8,9)






การคมนาคม
1. ถนนทางหลวงแผ่นดินสายอยุธยา สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข  3263 ) ผ่านเขตเทศบาล              ตำบลบางนมโค
2. ถนนทางหลวงแผ่นดินสายเสนา สามโคก ปทุมธานี (ทางหลวงหมายเลข  3111)  ผ่านเขตเทศบาลตำบลบางนมโค
3. ถนนทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านกระทุ่ม คู้สลอด ระยะทาง 18  กิโลเมตร
4. ถนนทางหลวงท้องถิ่นสายน้ำเต้า บางซ้าย ผ่านเทศบาลตำบลบางนมโค ระยะทาง  6  กิโลเมตร






ภายในเขตเทศบาลตำบลบางนมโค  มีถนนจำนวนทั้งสิ้น 34 สาย

ตารางแสดงสภาพถนนในเขตเทศบาลตำบลบางนมโค

ลำดับ
ประเภทถนน
จำนวนสาย
ความยาว
(เมตร)
พื้นที่
(ต.ร.ม)
1
คอนกรีตเสริมเหล็ก
29
8,000
28,000
2
แอสฟัลท์/ลาดยาง
3
10,000
70,000
3
ลูกรัง
4
3,500
13,600

สะพานข้ามแม่น้ำ
ไฟฟ้าสาธารณะ
สี่แยกไฟแดง
แม่น้ำ
หนอง บึง
คลอง ลำธาร
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
1
150
1
1
4
4
  แห่ง
  จุด
  แห่ง
  สาย
  แห่ง
  สาย









การสาธารณูปโภค
การประปา
ประปาหมู่บ้าน
บ่อน้ำบาดาล
ถังน้ำประปา
ระบบการบริหารประปาภูมิภาค
จำนวน
จำนวน
จำนวน
จำนวน
11
5
5
15
  แห่ง
  แห่ง
  ถัง
  กิโลเมตร

การสื่อสาร

ตู้โทรศัพท์สาธารณะ
หอกระจายข่าวในพื้นที่ชุมชน
วิทยุชุมชนในพื้นที่
จำนวน
จำนวน
จำนวน
10
11
1
  แห่ง
  แห่ง
  สถานี






                                      ประชากร 

จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  3,371  หลังคาเรือน
- มีประชากรทั้งหมด 6,786  คน แบ่งเป็นชาย 3,291คน  หญิง 3,495 คน
- ความหนาแน่นของประชากร  488 คน/ตารางกิโลเมตร                   


สถานที่สำคัญของตำบลบางนมโค

1. เทศบาลตำบลบางนมโค
2. โรงเรียนวัดบางนมโค
3. โรงเรียนวัดมารวิชัย
4. โรงเรียนวัดสุธาโภชน์ (ไวทย์วรวิทย์)
5. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนวัดมารวิชัย
          6. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนวัดบางนมโค
          7. สถานีอนามัยตำบลบางนมโค
8. "วัดบางนมโค ศูนย์รวมความศรัทธาแห่งหลวงพ่อปาน"

วัดบางนมโค
เปิดตำนานพระพุทธรูปคู่เมือง

       เมื่อได้มาถึงตำบลบางนมโค หากมีโอกาสควรแวะนมัสการหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของวัดบางนมโค ซึ่งประวัติของหลวงพ่อปาน ในอดีตเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จึงเป็นที่กราบไหว้ สักการบูชา ของพระพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก วัดแห่งนี้ยังเป็นศาสนสถานที่รวบรใมศิลปะความงดงามตามวิถีพุทธที่พร้อมให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าชมความงดงามอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

       ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีต "หลวงพ่อปาน" ได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านเป็นบุตรชายคนเล็กของ คุณพ่ออาจ และคุณแม่อิ่ม สุทธาวงค์ ซึ่งมีอาชีพหลัก คือ ทำนา เมื่อท่านเกิดมาได้มีปานแดงที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่นิ้วถึงปลายนิ้ว ซึ่งนับว่าเป็นความแปลก จึงเป็นสาเหตุที่ผู้คนขนานนามท่านว่า "ปาน"

       หลวงพ่อปานได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2438 โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ตำบลบางน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

      หลวงพ่อปานนั้นมีความเชี่ยวชาญในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนผู้คนที่ถูกคุณไสยฯ และมีความเก่งกาจในเรื่องผ้ายันต์ หรือเรียกว่า "ผ้ายันต์เกราะเพชร" ซึ่งเป็นผ้ายันต์ที่ยอดเยี่ยมมาก กิจวัตรประจำวันของท่าน หลังจากที่ฉันเพลเรียบร้อยแล้วก็จะพักผ่อน จากนั้นก็จะทำน้ำมนต์เพื่อเตรียมไว้สำหรับรักษาคนเจ็บป่วยต่างๆ ที่มาหาท่าน ซึ่งมีชาวบ้านมาหาท่านเป็นจำนวนมาก และท่านก็ได้ช่วยเหลือและให้การสงเคราะห์ชาวบ้านอย่างเต็มที่ จึงทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อปานเสมอมา

      ต่อมา หลวงพ่อปาน ได้มรณภาพเมื่อ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันที่ 26 กรกฎาคม 2481 และแม้ว่าท่านจะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ก็ได้ทิ้งมรดกอันล้ำค่าไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชนหรือบุคคลที่เลื่อมใสท่าน อันได้แก่ หลวงพ่อปาน ผ้ายันต์เกราะเพชร และพระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์ ซึ่งชาวบางนมโครวมถึงผู้คนทั่วไปยังคงนับถือบูชามาตราบจนปัจจุบัน
          9. วัดมารวิชัย
          10. วัดสุธาโภชน์
          11. ทุ่งนา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น